Daily English


1. Parts of Speech ( ชนิดของคำ )
Parts of speech คือชนิดของคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งนำมาร้อยเรียงเป็นวลีหรือประโยค แบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่ Noun, Pronoun, Verb, Adverb, Adjective, Preposition, Conjunction และ Interjunction
1. Nouns (คำนาม) คือคำที่ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, สถานที่ หรือชื่อเฉพาะต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ดังนี้
          - concrete nouns คือคำนามที่เป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ เช่น doctor, flowers, bear, helicopter, machine
            - abstract nouns คือคำนามที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ เช่น friendship, happiness, nationality, holiday, software
            นอกจากนี้คำนามยังสามารถแบ่งเป็นคำนามที่นับได้ (countable nouns) และคำนามที่นับไม่ได้ (uncountable nouns)
            คำนามที่นับได้มีทั้งคำนามที่เป็นเอกพจน์ (singular) และพหูพจน์ (plural) เมื่อต้องการพูดถึงคำนามที่เป็นเอกพจน์ เรามักใช้  a, an หรือ the นำหน้าคำนามนั้นๆ
            คำนามที่เป็นพหูพจน์มักมีการเติม -s หรือ -es ท้ายคำนามนั้นๆ ถ้าเป็นคำนามที่ลงท้ายด้วย -y ให้เปลี่ยนจากตัว -y เป็น -ies หรือมีการเปลี่ยนรูปคำเมื่อเป็นพหูพจน์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
examples:
Singular
Plural
a bag
bags
a doctor
doctors
a house
houses
a box
boxes
a strawberry
strawberries
a child
children

2. Pronoun (คำสรรพนาม) คือคำที่ใช้เรียกแทนคำนาม มักใช้คำสรรพนามเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำนามนั้นซ้ำๆ เช่น George is a teacher. He comes from England. คำว่า ‘He’ เป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อ ‘George’ เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อซ้ำ
            Personal pronouns เป็นคำสรรพนามที่มักใช้กล่าวถึงบุคคล ซึ่งเมื่อ personal pronoun สามารถทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยค นอกจากนี้ยังสามารถใช้แสดงความเป็นเจ้าของได้อีกด้วย
examples:
Nominative form
(as Subject)
Objective form
(as Object)
Possessive form
Reflexive form
I
me
my
mine
myself
You
you
your
yours
yourself
We
us
our
ours
ourselves
They
them
their
theirs
themselves
He
him
his
his
himself
She
her
her
hers
herself
It
it
its
its
itself

            Relative pronouns เป็นคำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคเพื่ออ้างถึงคำนามหรือคำสรรพนามที่กล่าวถึงในส่วนอื่นของประโยคเดียวกัน ได้แก่คำว่า who, whom, which, that, whose
examples:
            The artist who composed this song is very famous.
            The game which I like to play is called Candy Crush.
3. Adjectives (คำคุณศัพท์) คือคำ, วลี หรือประโยคที่ใช้ขยายคำนามเพื่อบอกถึงลักษณะของคำนามนั้นๆ โดยมักจะวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น short, long, beautiful, expensive, difficult เป็นต้น
examples:
adjectives
nouns
beautiful
girls
nice
weather
dangerous
animals

ในกรณีที่มีคำคุณศัพท์มากกว่าหนึ่งคำในประโยค ให้เรียงลำดับการวางคำคุณศัพท์ดังนี้
Opinion
Size
Age
Temperature
Shape
Colour
Origin
Material
awful
large
new
cold
round
pink
Chinese
plastic

examples:
This is a small old blue Japanese wooden box.
She is wearing a beautiful white cotton shirt.
4. คำกริยา ( verb)  คือ คำที่แสดงอาการ การกระทำ หรือบอกสภาพของประธานของประโยค คำกริยาเป็นส่วนสำคัญของประโยค หากขาดคำกริยาไป คำ หรือกลุ่มคำนั้นจะไม่ถือเป็นประโยค
          - ประเภทของคำกริยา   คำกริยาอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ main verb , auxiliary or helping verb (auxiliaries) และ modal verb (modals)
                  1)  Main Verb คือ กริยาแท้ หรือกริยาหลักของประโยคซึ่งแบ่งออกเป็น
                            Transitive Verb  คือ กริยาที่ต้องการกรรม เช่น eat, send, make
                                              We eat fruit before a meal.
                                              Jane sent her parents a postcard .
                                              He made a reservation at the hotel in Rome.
                             Intransitive Verb คือ กริยาที่ไม่ต้องการกรรม แต่อาจมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ เช่น
                            fly, walk, swim
                                              Many birds fly south for the winter.
                                              Those children walk to school every day.
                                              Alan always swims with his sons.
                             Linking Verb คือ คำกริยาที่เชื่อมประธานกับส่วนเสริมประธานซึ่งอาจเป็นคำนาม หรือ
                            คำคุณศัพท์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน หรือเป็นการขยายความบอกลักษณะ
                            ได้แก่   BE(am, is, are, was, were, being, been), appear, become, grow, prove,
                            remain, seem, turn และคำกริยาที่บ่งบอกประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่  look, sound,
                            smell, taste, feel
                                              Pai, a popular tourist attraction, is their new home.
                                              All passengers remain calm.
                                              They felt happy when their daughter got her Master's degree.
                            อย่างไรก็ตาม กริยาบางตัวอาจไม่ได้เป็นกริยาเชื่อมเท่านั้น แต่ใช้ในความหมายอื่นได้ด้วย
                            เช่น                                               
                                              He looked serious. (linking verb)
                                              He looked at the report. (intransitive verb)
                  2) Auxiliary or Helping Verb (Auxiliaries) คือกริยาช่วยที่ใช้ประกอบคำกริยาแท้ หรือ
                        กริยาหลัก ได้แก่ BE, DO และ HAVE ในรูปต่าง ๆ
                             คำกริยาเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาช่วย
                                              Sam is in the park. (main)
                                              Sam is jogging in the park. (auxiliary)
                  3) Modal Verb (Modals)   คือ กริยาช่วยประเภทหนึ่งที่ทำให้กริยาแท้มีความหมายแตกต่างกันไป
                   ได้แก่ can, could, shall, should, will, would, may, might, must, ought to, need และ dare                               คำกริยาประเภทนี้จะใช้นำหน้าคำกริยาแท้ซึ่งอยู่ในรูป V base form
                                              They wil l buy a piece of land in Nan.
                                              Yada can speak many languages.
                            อย่างไรก็ตาม ตำราไวยากรณ์บางเล่มจัดให้ modal verb อยู่ในกลุ่มของกริยาช่วย
                   ประเภทหนึ่งเรียกว่า modal auxiliary verb โดยไม่แยกเป็นประเภทต่างหาก
          - ตำแหน่งของคำกริยา   โดยทั่วไปคำกริยาจะตามหลังประธานของประโยค หากมีกริยาช่วย
กริยาแท้จะอยู่ตามหลังกริยาช่วย ยกเว้นในประโยคคำถามที่กริยาช่วยจะอยู่ในตำแหน่งหน้าประธาน
( ศึกษารายละเอียดเรื่องประเภทของประโยคได้ในโมดูลที่ 7)
                                             Mr. Smith works at STOU.
                                             You should fasten your seat belt while driving.
                                              Do they play football at school?
          - รูปของคำกริยา    คำกริยาจะมีรูป 5 รูปดังนี้
รูป
สัญลักษณ์
ตัวอย่าง
1. รูปที่ยังไม่ได้ผัน ( base form)
V base form
listen, begin, hit
2. รูปที่ลงท้ายด้วย - s (-s form)
V1
listens, begins, hits
3. รูปอดีต ( past form)
V2
listened, began, hit
4. รูป present participle
V ing
listening, beginning, hitting
5. รูป past participle
V3
listened, begun, hit
                    จากตัวอย่างข้างต้น คำกริยา listen จะเติม - ed เมื่ออยู่ในรูป past และ past participle จึงอยู่ในกลุ่ม regular verbs ส่วนคำกริยา begin และ hit จะผันคำแตกต่างกัน กล่าวคือ begin เปลี่ยนรูป past และ past participle ในขณะที่ hit จะไม่มีการเปลี่ยนรูป คำกริยาทั้งสองนี้จึงจัดเป็น irregular verbs  หากไม่แน่ใจว่าคำกริยาที่จะต้องผันเป็น regular หรือ irregular verbs  นักศึกษาควรตรวจสอบจากพจนานุกรมเสียก่อน และพยายามจดจำไว้ใช้ต่อไป

            6. Verbs of Possession คือคำกริยาที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของ เช่น belong, have, own, etc.
5. Adverbs (คำกริยาวิเศษณ์) คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เพื่อให้ได้ใจความที่สมบูรณ์และมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
            1.ทำหน้าที่ขยายคำกริยา (Verb)
โดยปกติแล้วจะอยู่หลังคำกริยาที่ถูกขยายหรืออยู่หลังกรรมของคำกริยา ในกรณีที่คำกริยานั้นมีกรรมมารับ เช่น
      My grandfather walks slowly.
      ปู่ของผมเดินอย่างช้าๆ
จากประโยคข้างต้น slowly  เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำกริยา walk
      Tata sings a song sweetly.
      ทาทาร้องเพลงได้อย่างไพเราะ
จากประโยคข้างต้น Sweetly เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำกริยา sing และอยู่หลังกรรม
       He works hard every day.
จากประโยค hard เป็น adverb ขยายคำกริยา work 

2. ทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์
(Adjective)
โดยปกติจะอยู่หน้าคำคุณศัพท์เช่น
      Jane is very beautiful.
       เจนสวยมากๆ
จากประโยคข้างต้น very เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำคุณศัพท์ beautiful
     Ann is too young.
     แอนยังเด็กเกินไป
จากประโยคข้างต้น too เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำคุณศัพท์ young
     It is surprisingly hot today.
จากประโยค surprisingly เป็น adverb ขยายคำคุณศัพท์ hot

3.ทำหน้าที่ขยายคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ด้วยกันเอง

ปกติแล้วจะอยู่หน้าคำกริยาวิเศษณ์ เช่น
     She speaks so quickly.  
      เธอพูดเร็วเกินไป
จากประโยคข้างต้น so เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำคุณศัพท์ quickly
    Pam drives quite carefully.
    แพมขับรถด้วยความระมัดระวังทีเดียว
จากประโยคข้างต้น quite เป็นคำกริยาวิเศษณ์ ขยายคำวิเศษณ์ carefully
    The train travels very quickly.
จากประโยคข้างต้น very เป็น adverb ไปขยาย quickly ซึ่งเป็น adverb
4. ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม (Pronoun) เช่น
      What else I can say?
จากประโยคข้างต้น else เป็น adverb ขยาย what ซึ่งเป็น สรรพนาม
5. ทำหน้าที่ขยายกลุ่มคำที่เป็นวลี (Phrase) เช่น
      They lived nearly on the top of the hill.
จากประโยคข้างต้น nearly เป็น adverb ขยายวลี (Phrase) on the top of the hill
6. ขยายประโยคทั้งประโยค (Sentence) โดยปกติมักพบอยู่หน้าประโยค เช่น
       However, I was successful in the examination
จากประโยคข้างต้น however เป็น adverb ขยายประโยคที่ตามมาทั้งประโยค
7. ทำหน้าที่ขยายจำนวนนับ เช่น
      I go to Huahin almost every week.
จากประโยคข้างต้น almost เป็น adverb ขยายจำนวนนับ every
8. ทำหน้าที่ขยายคำบุรพบท (Preposition) เช่น
      I hit him right on his nose .
จากประโยคข้างต้น right ในที่นี้แปลว่า "พอดี " เป็น adverb ขยาย preposition "on"
9. ทำหน้าที่ขยายคำสันธาน Conjunction (สันธาน) เช่น
      He didn't stop working even though he was very tired.
จากประโยคข้างต้น even = ถึงขนาดนั้น, แม้กระนั้น เป็น adverb ขยายคำสันธาน though

การสร้างคำวิเศษณ์ (Adverb)
            1)   คำ Adverbs ส่วนหนึ่งมาจากการเติม –ly หลังคำคุณศัพท์ เช่น
       quick
- ly
    quickly
      อย่างรวดเร็ว
       sad
- ly
    sadly
      อย่างเศร้าโศกเสียใจ
       slow
- ly
    slowly
      อย่างเชื่องช้า




            2) คำ adjective ที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม –ly  เช่น
       complete
- ly
     completely
    อย่างสมบูรณ์
       immediate
- ly
     immediately
    อย่างกระทันหัน



            3)  คำยกเว้น คำคุณศัพท์ (Adjective) ที่ลงท้ายด้วย   ue ตัด e ทิ้งแล้วเติม –ly
      true
- ly
    truly
     อย่างแท้จริง
     due
- ly
    duly
     อย่างสมควร, ครบกำหนด

            4)  คำคุณศัพท์ (adjective) ที่ลงท้ายด้วย y   เปลี่ยนเป็น i แล้วเติม –ly เช่น
     angry
- ly
    angrily
  อย่างโกรธเคือง, ฉุนเฉียว
     happy
- ly
    happily
  อย่างมีความสุข
            5)  คำคุณศัพท์ (adjective) ที่ลงท้ายด้วย le ให้ตัด e ทิ้งแล้วเติม y เช่น  
     simple
- ly
   simply
   อย่างง่ายๆ
     possible
- ly
   possibly
   อย่างเป็นไปได้


คำยกเว้น  whole - wholly อย่างสมบูรณ์, ครบถ้วน
Note: คำที่ลงท้ายด้วย ly อยู่แล้วแต่เป็นคำคุณศัพท์ได้แก่คำว่า
      friendly  เป็นมิตร    
      lovely    น่ารัก
      lonely   โด่ดเดี่ยว      
      ugly      น่าเกลียด
      silly       งี่เง่า             
            6)  คำคุณศัพท์ (adjective) บางคำเมื่อเป็นคำวิเศษณ์ (adverb) จะเปลี่ยนรูปไปเลย เช่น
     good
-
    well
     อย่างดี

            7) จะมีคำยกเว้นเพียงบางคำที่มีรูปเดียวกันทั้งคำคุณศัพท์ (adjective) และคำวิเศษณ์ (adverb) เช่น
     fast
( เร็ว )
        much
      (มาก )
     hard
( ยาก )
        little
    ( น้อย )
     low
( ต่ำ )
        late
    ( สาย )
     high
( สูง )
        enough
    ( เพียงพอ )
     deep
( ลึก )
        wrong
    ( ผิด )
     early
( เช้า )
        far
    ( ไกล )
Ex. It is a fast train. (adjective)
      It goes very fast. (adverb)
     George is a hard worker. (adjective)
      Mike works hard. (adverb)

ชนิดของคำวิเศษณ์ (Adverb)
Adverbs (คำกริยาวิเศษณ์) โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ตามลำดับดังนี้
    1. Adverb of degree
    2. Adverbs of manner
    3.Adverbs of place
    4.Adverbs of frequency
    5.Adverbs of time
Adverb ที่ขยาย adjective และ adverb ได้แก่
    Adverbs of Degree ซึ่งปกติจะนำหน้าคำที่มันขยาย
Adverb ที่ขยาย verb ได้แก่
    Adverbs of Time
    Adverbs of Manner
    Adverbs of Place
    Conjunctive Adverbs
1.Adverbs of Degree เป็นกริยาวิเศษณ์ที่ส่วนใหญ่ไปขยาย adjective หรือ adverb ด้วยกันเอง เพื่อบอกระดับหรือปริมาณความมากน้อย คำที่พบบ่อยๆ ได้แก่
absolutely, certainly, definitely, probably, entirely, obviously, very, almost, nearly, quite, just, too, enough, hardly, completely, very, extremely, exactly, scarcely, so, much,
quite, perhaps, probably, rather, fairly, only, slightly

ตำแหน่งของ Adverb of degree 
ตำแหน่งของ Adverbs of Degree ส่วนใหญ่วางหน้าคำที่มันขยาย มักจะขยาย adjective หรือ adverb ด้วยกันเอง และวางหน้า main verb หรือระหว่างกริยาช่วย ( auxiliary verb ) กับ main verb เช่น
   The water was extremely cold.
   น้ำนั้นเย็นเจี๊ยบเลย
จากประโยคข้างต้น extremely เป็นคำวิเศษณ์ (Adverb) ขยายคำคุณศัพท์ (adjective) cold
    I am too tired to go out tonight.
    ฉันเหนื่อยเกินกว่าที่ฉันจะออกไปข้างนอกคืนนี้
จากประโยคข้างต้น too เป็นคำวิเศษณ์ (Adverb) ขยายคำคุณศัพท์ (adjective) tired
    Please do not speak too fast.
   โปรดอย่าพูดเร็วเกินไป
จากประโยคข้างต้น too เป็นคำวิเศษณ์ (Adverb) ขยายคำวิเศษณ์ (Adverb) fast
    He hardly noticed what she was saying.
    เขาแทบไม่ได้สังเกตว่าเธอพูดอะไร
จากประโยคข้างต้น hardly เป็นคำวิเศษณ์ (Adverb) วางอยู่หน้ากริยา ขยายกริยา (Main verb)  noticed
    She had almost finished her breakfast when I came in.
    เธอกินอาหารเช้าเกือบเสร็จแล้วตอนที่ฉันเข้ามา
จากประโยคข้างต้น almost เป็นคำวิเศษณ์ (Adverb) วางอยู่หน้ากริยา ขยายกริยา (Main verb)  finished
2.Adverbs of manner  คือ คำกริยาวิเศษณ์ที่บรรยายลักษณะ อาการ ท่าทาง และบอกให้ทราบว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นในลักษณะอย่างไร เช่น
     The horse runs quickly. ม้าวิ่งเร็ว
     This cake is deliciously. ขนมเค้กชิ้นนี้อร่อย
ข้อสังเกต :  Adverb ชนิดนี้มักได้มาจากคำคุณศัพท์ (adjective)

ตำแหน่งของคำ adverb of manner
1)  วางไว้หลังคำกริยาที่มันไปขยาย เช่น
     She smiles happily.
2) วางไว้หลังกรรม เมื่อประโยคมีกรรมมารับ เช่น
    Mary does homework carefully.
 3.Adverb of place  คำคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกสถานที่ บอกว่าการกระทำนั้น ๆ เกิดขึ้นที่ไหน adverb of place ที่มักพบบ่อย ๆ คือ
        above
    เหนือขึ้นไป
upstairs
   ชั้นบน
        home
     บ้าน
here
   ที่นี่
        across
     ตรงข้าม, ตามขวาง
there
   ที่นั่น
        around
    โดยรอบ
somewhere
   บางที
        away
    ไม่อยู่,ห่าง
near
   ใกล้
        back
     ที่อยู่ข้างหลัง
everywhere
    ทุกที่
        down
     ลง, ข้างล่าง
at
    ที่
        below
     เบื้องล่าง
downstairs
    ชั้นล่าง
ตำแหน่งของ Adverbs of place
1)    วางไว้หลังคำกริยาที่ขยาย เช่น
        He goes everywhere by van.
      They sleep upstairs.
2)    วางไว้หลังกรรม เมื่อประโยคมีกรรมมารับ เช่น
       I wait for my friend at the fron gate.
      She puts her handbag on the desk.
4. Adverbs of frequency คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ใช้บอกความถี่ ความบ่อยของการกระทำ adverbs of frequency ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1)    ชนิดที่เป็นคำเดียว เช่น
       always
       เสมอ ๆ
       seldom
       นาน ๆ ครั้ง
       often 
       บ่อย ๆ
       generally
       โดยทั่วไป
       sometime
       บางครั้ง
       hardly
       แทบจะไม่
       Never
       ไม่เคย
       occasionally
       บางโอกาส








 ตำแหน่งของ Adverbs of frequency ชนิดที่เป็นคำเดียว
 - วางหน้าคำกริยาแท้ (finite verb )  เช่น
   We always get up at 5 o’clock.
   I often go to school by bus.
 - วางไว้หลังคำกริยาช่วย (verb to be) เช่น
   He is never late for school.
   They are seldom absent from work.

2) ชนิดที่เป็นกลุ่มคำ เช่น
       Once a week
-
1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์
       Many times
-
หลายครั้ง
       Everyday
-
ทุกๆ วัน
       Twice a year
-
2 ครั้งต่อ 1 ปี
       Several times
-
หลายครั้ง
       Now and again
-
ซ้ำแล้วซ้ำอีก
        


           


ตำแหน่งของ Adverb of frequency ชนิดที่เป็นกลุ่มคำ
  - วางไว้หลังกรรม หรือ ท้ายประโยค เช่น
      I go to school everyday.
    She visits her parents once a week.
    Pam washes her hair twice a week.
  5.  Adverb of time คือ คำวิเศษณ์ ที่ใช้บอกเวลา บอกให้ทราบว่าการกระทำเกิดขึ้นเมื่อไร adverb of time ที่มักพบบ่อยๆ คือ
       Today
วันนี้
Already
ทำแล้ว
       Yesterday
เมื่อวานนี้
Late
สาย
       Tomorrow
วันพรุ่งนี้
Soon
ในไม่ช้า
       Tonight
คืนนี้
Still
ยังคง
       After
ภายหลัง
Yet
ยังไม่
       Before
ก่อน


       Afternoon
ช่วงบ่าย


       The day before yesterday
วันก่อนเมื่อวานนี้


       The day after tomorrow
วันถัดจากวันพรุ่งนี้












 ตำแหน่งของ Adverbs of time
   1) วางไว้ท้ายประโยค เช่น
      He went to school yesterday.
    2) วางไว้หน้าประโยค เมื่อต้องการจะเน้นเวลา เช่น
     Tomorrow I shall buy a book.
การเรียงลำดับ Adverb
           
เมื่อ adverb ในประโยคมีมากกว่า 1 ชนิด ให้เรียงลำดับดังนี้
  
       M. – Adverbs of manner
      P. – Adverbs of place
      F. – Adverbs of frequency
     T. – Adverbs of time
Ex: She eats rice slowly at home once a day in the evening.
ในกรณีที่มีเพียง Adverb of place และ  adverb of manner ให้นำ adverb of place มาวางไว้หน้า adverb of manner ดังนี้
       He walks to school quickly.
                         (P.)      (M.)
ข้อสังเกต : ถ้า adverb ชนิดเดียวกัน ขยายคำกริยาตัวเดียวกันที่มีมากกว่า 1 ตัวขึ้นไปในประโยคเดียวกันจะต้องเอา adverb ที่เป็นจุดเล็กที่สุกขึ้นก่อนจากนั้นจึงตามด้วยจุดที่กว่างหรือใหญ่ที่สุดดังตัวอย่าง
     I was born at nine o’clock on Sunday in June in 1965.
       She buys some food at supermarket in department store on Silom Road in Bangkok.
6. Prepositions (คำบุพบท) เป็นคำ หรือกลุ่มคำที่วางหน้า noun หรือ pronoun เพื่อแสดงว่าคำนามหรือสรรพนามนั้นเกี่ยวข้องกับคำอื่นๆในประโยคอย่างไรเช่น on, at, in, from, within 
I will see you on Monday.   ฉันจะพบกับคุณในวันจันทร์
She was waiting at the restaurant. เธอรออยู่ที่ร้านอาหาร
There is a cockroach in my room. มีแมลงสาบตัวหนึ่งในห้องฉัน
We must finish the project within a year. เราจะต้องทำโครงการนี้ให้เสร็จใน 1

7. Conjuction (คำสันธาน)
 เป็นคำที่ใช้เชื่อม คำ กลุ่มคำ หรือประโยคเข้าด้วยกันเพื่อให้ความหมายสมบูรณ์ขึ้น เช่น and, but, therefore, beside, either..or

John is rich and handsome .จอห์นเป็นคนรวยและรูปหล่อ
Either you or she has to do this job. ไม่คุณก็เธอที่จะต้องทำงานนี้
8. Interjection ( คำอุทาน )
 เป็นคำอุทานที่แสดงถึงอารมณ์  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  โดยไม่เกี่ยวข้องกับคำอื่นๆ ใน ประโยคเลย   เช่น Oh God! , WOW, Hurrah


2. การใช้ punctuations
You know the world of English is a fun and a fascinating place to be. We are so glad you could join us for another lesson. Hi everybody, this is Mr. Duncan in England. How are you today? Are you ok? I hope so. Are you happy? I hope so. In today’s lesson we will look at the most important part of written English grammar, which is for many, a confusing place to be, the world of punctuation.
คุณรู้ใช่มั้ยว่าโลกแห่งภาษาอังกฤษนั้นช่างเป็นสถานที่ที่น่าหลงไหลและน่าตื่นเต้น ฉันดีใจเหลือเกินที่คุณได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราในวันนี้ สวัสดีทุกๆคน นี่คือมิสเตอร์ดันแคนในประเทศอังกฤษ วันนี้คุณเป็นยังไงบ้าง คุณสบายดีมั้ย ฉันหวังว่าอย่างนั้นนะ คุณมีความสุขดีมั้ย ฉันหวังว่าอย่างนั้นนะ ในบทเรียนของเราในวันนี้ เราจะมาเรียนกันในเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษกันล่ะ



One of the most common complaints of learning English is the constant use of grammatical clauses in almost every sentence that we say. There is no better place for demonstrating this occurrence than in the written word or sentence. There are hundreds of different clauses which must be observed, although, as we may discover, some of them are used far less than they were in the past. So let’s look at the basic of written grammar and punctuation. First of all, why do we need it?

หนึ่งในปัญหาที่หลายๆคนบ่นในการเรียนภาษาอังกฤษก็คือปัญหาเกี่ยวกับไวยากรณ์หรือแกรมมาร์ ดังนั้นวันนี้ฉันจะพาคุณไปสู่โลกแห่งการเขียนและเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษ คำถามแรกก็คือ ทำไมเราถึงต้องการพวกมันล่ะ



There is big a problem when it comes to reading text that has been written down by someone and that is the fact that we cannot hear what the person is saying. During the process of typing or writing something, we normally have an inner voice, inside our head, talking as we do it. This is our way of transferring the thought into text. However, when another person reads that text, those words do not easily transfer back to the original voice. Grammar and punctuation help to give structure to the sentences that have been written down on the paper.

ปัญหาหลักในภาษาเขียนก็คือ ผู้อ่านไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้เขียนได้ ดังนั้นเครื่องหมายวรรคตอนจึงจำเป็นต้องถูกนำมาใช้ในภาษาเขียนเพื่อที่จะถ่ายทอดบทความและความรู้สึกของผู้พูดในขณะที่เขียน

Grammar and punctuation exist in all languages but the rules can be very different from one to the other. It is always better to simplify the rules of English, when beginning the teaching and learning process. This is a common mistake that the teachers of English as a second language make. Making the language complicated can scare students away from learning. Building the level carefully and not rushing the students into taking on too much information will benefit everyone overtime.
ไวยากรณ์และเครื่องหมายวรรคตอนนั้นมีอยู่ในทุกๆภาษา ถึงแม้ว่ากฏในการใช้ของพวกมันจะแตกต่างกันก็ตาม ครูสอนภาษาอังกฤษหลายๆคนเข้าใจว่า การเริ่มเรียนกฏไวยากรณ์ง่ายๆย่อมส่งผลดีต่อผู้เรียน แต่อันที่จริงแล้วมันเป็นความเชื่อที่ผิด ถึงแม้ว่ากฏไวยากรณ์ยากๆอาจทำให้นักเรียนกลัวภาษาอังกฤษ เริ่มต้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป และไม่ยัดความรู้ทั้งหมดในเวลาอันสั้นคือวิธีที่ดีที่สุด ถึงแม้ว่ากฏบางอย่างอาจจะยาก แต่ถ้าครูสอนแบบค่อยเป็นค่อยไปและให้เวลากับนักเรียนในการทำความเข้าใจ ภาษาอังกฤษก็ไม่ยากเกินไป

So today we are looking at punctuation. The most obvious part of this must be the punctuation marks. They are the symbols which are used in all written English. There are many punctuation marks and some of them cause a great deal of confusion, even for those of us who speak English as our first language. So let’s go through them, one by one.
ดังนั้นวันนี้เราจึงมาเรียนรู้กันในเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษที่จำเป็นและสำคุญเป็นอย่างมากในภาษาเขียน มีเครื่องหมายวรรคตอนหลายๆอย่างที่สร้างความสับสนให้กับผู้เรียนภาษาอังกฤษและแม้กระทั่งเจ้าของภาษาเองก็ตาม เอาล่ะมาเริ่มกันเลย

So our first punctuation mark is the apostrophe (´). The main purpose of the apostrophe is to show a possessive clause. This means you are saying that something is owned by or belongs to a particular person, or is directly connected with something else.  For example
เครื่องหมายวรรคตอนแรกที่เราจะมาเรียนกันก็คือ apostrophe (´) อพอสโทรฟี ในภาษาไทยเราเรียกว่า เครื่องหมายวรรคตอน อพอสโทรฟีนั้นถูกใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น

Paul’s new bike was stolen
จักรยานใหม่ของพอลถูกขโมย อพอสโทรฟีบอกเราว่าจักรยานนั้นเป็นของพอล

Today’s weather is very bad
อากาศวันนี้แย่มากเลย อพอสโทรฟีบอกเราว่าอากาศในวันนี้แย่มาก   

The biggest confusion with this particular punctuation mark comes when we use ‘it’ in a sentence. For example, it’s a long way to my home. In this sentence, the apostrophe is used to show a contraction or a shortened form of a sentence.
ความสับสนหลักที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้อพอสโทรฟีก็คือ อพอสโทรฟีนอกจากจะถูกใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแล้ว ยังสามารถถูกใช้ในการย่อคำได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า ‘It is’ เราย่อว่า ‘It’s’ ซึ่งการย่อประเภทนี้เรามักพบเห็นในคำเหล่านี้

‘That’s’ = ‘That is’, ‘There’s’ = ‘There is’, ‘He’s’ = ‘He is’, ‘She’s’ = ‘She is’, ‘You’re’ = ‘You are’, ‘We’re’ = ‘We are’

However, when we use ‘its’ in the possessive way, the apostrophe is not used.  
อย่างไรก็ตาม เวลาที่เราใช้ ‘its’ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เราไม่จำเป็นต้องใช้อพอสโทรฟี เช่น

The bird uses its feather for flying
นกใช้ปีกของมันเพื่อบิน

When using a group noun, the apostrophe is used.
แต่หากเป็นกลุ่มคำนามพหูพจน์ เราจำเป็นต้องใช้อพอสโทรฟี เช่น

the girls’ dresses were all red
ชุดของเด็กผู้หญิงสีแดงหมดเลย
The children’s playground was closed
สนามเด็กเล่นของเด็กๆปิดแล้ว

As you can see, the apostrophe is sometimes placed at the end of the word. This is only done when that last letter of the word ends with an ‘s’. It would be fair to say that the apostrophe is the most confusing of all the punctuation marks.
คุณคงจะเห็นแล้วว่าอพอสโทรฟีถูกวางอยู่ท้ายคำเป็นบางครั้ง กรณีเกิดขึ้นเมื่อตัวอักษรตัวสุดท้ายของคำที่ต้องการแสดงความเป็นเจ้าของจบลงด้วยตัว ‘s’ จากทั้งหมดนี้เราอาจกล่าวได้ว่าอพอสโทรฟีเป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่น่าสับสนมากที่สุด

The closed parenthesis brackets () are used to show extra or additional information which has been placed in a sentence, such as an alternative word or an explanation. A word can be placed within a sentence to add extra caution or doubt.
เครื่องหมายวงเล็บ () ถูกใช้เพื่อแสดงข้อมูลหรือคำอธิบายเพิ่มเติมในประโยค ยกตัวอย่างเช่น

 It was a calm and dry (but cloudy) day.
มันเป็นวันที่อากาศเย็นสบาย (แต่มีเมฆมาก)

 I went to China in (March) 2003.
ฉันเดินทางไปยังประเทศจีนในปี 2003 (เดือนมีนาคม)

I always keep my promises (not).
ฉันรักษาสัญญาเสมอ (ซะเมื่อไหร่ล่ะ)

Hello Mr. Colon (:). The colon appears mostly in formal print, where it is used as a way of shortening a sentence, normally replacing a conjunction such as, so.
เครื่องหมายโคลอน ถูกใช้เพื่อตัดประโยคให้สั้นลง มักใช้แทนคำเชื่อมประโยค เช่น

The train was ready to depart: we wave goodbye
รถไฟพร้อมที่จะออกเดินทาง เราจึงโบกมือลา

Or it is used as an alternative to for example.
หรืออาจใช้แทนเครื่องหมายคำว่า ยกตัวอย่างเช่น

The rain often falls in the cold season: around November and December.
ฝนมักตกในฤดูหนาว ยกตัวอย่างเช่นในราวๆเดือนพฤษจิกายนและธันวาคม

I see you there you are. The comma (,) is used often in most forms of writing and is most commonly used form of punctuation mark. The comma serves as a breath of air or a short pause in a sentence.
 เครื่องหมายคอมม่า  (,) ภาษาไทยเรียกว่าจุลประกาศ หรือ ลูกน้ำ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่ถูกใช้มากเป็นอันดับสอง ถูกใช้เพื่อแสดงการหยุดพักสั้นๆในประโยค เช่น

He is on time, as he usually is on Monday, which I like it.
เขามาตรงเวลา เหมือนที่เขามาตรงเวลาเสมอในวันจันทร์ ฉันชอบ 

It is also used when listing more than two items together within a sentence. For example,
เครื่องหมายคอมม่ายังถูกใช้เมื่อเราต้องการเขียนรายการของสิ่งของที่มากกว่าสองไว้ด้วยกันในประโยค เช่น

I need to take a coat, hat, scarf, gloves, and some warm socks with me on my journey.
ฉันต้องเอาเสื้อคลุม หมวก ผ้าพันคอ และถุงเท้าอุ่นๆติดตัวไปด้วยสำหรับการเดินทาง

The dash (-) is used as a way of introduce extra information into a sentence and adding continuity. It can be used in singular form or double. A single dash (-) leads to an explanation, normally after a short breath of air.
เครื่องหมายขีดคั่น หรือ แดช  ถูกใช้เพื่อแสดงข้อมูลหรือคำอธิบายเพิ่มเติมในประโยคและแสดงออกถึงความต่อเนื่อง เครื่องหมายขีดขั้นมีสองประเภท หนึ่งขีดและสองขีด เครื่องหมายขีดขั้นหนึ่งขีดใช้เพื่อแสดงคำอธิบายเพิ่มเติมหลังจากหยุดพักสั้นๆ เช่น

He collected his book at the right time – although he had to rush there.
เขาเก็บหนังสือเสร็จเรียบร้อยทันเวลา ถึงแม้ว่าเขาจะต้องรีบไปก็ตาม

While the double dash (--) acts in a similar way to brackets.
ในขณะที่เครื่องหมายขีดคั่นสองขีดทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องหมายวงเล็บ เช่น

He was able to clime all the way up the mountain after a short rest – half an hour – to the amazement of the crowd below.
เขาปีนขึ้นไปถึงยอดเขาหลังจากการพักสั้นๆ ครึ่งชั่วโมง ท่ามกลางความตื่นตาตื่นใจของผู้ชมเบื้องล่าง

The exclamation mark (!) is used at the end of a sentence to show emotional stress. It shows that a sentence is being said loudly or an angry way, or with regret or excitement and joy!
เครื่องหมายตกใจ (!)ใช้เพื่อแสดงออกถึงการเน้นย้ำอารมณ์ในประโยค อาจหมายถึงอารมณ์โกรธ เสียใจ ตื่นเต้น หรือดีใจ เช่น

Hey, come back here!
กลับมาที่นี่เดี๋ยวนี้นะ

Look out!
ระวัง

Don’t lie to me!
อย่าโกหกฉันนะ

I wish I had not come here!
ฉันไม่น่ามาที่นี่เลย

Wow you remember my birthday!
ว้าว เธอจำวันเกิดฉันได้ด้วย

You are amazing!
เธอที่เยี่ยมไปเลย

The full stop or period (.) is used to show that a sentence has ended. This is the most commonly used form of punctuation. Don’t forget that a full stop is not needed at the end of a sentence that has an exclamation or question mark.
มหัพภาค หรือเครื่องหมายจุด ภาษาอังกฤษเรียกว่า ฟูล สตอป ใช้เพื่อแสดงว่าประโยคได้สิ้นสุดลงแล้ว ถูกวางไว้หลังประโยค อย่าลืมนะว่าประโยคที่มีเครื่องหมายตกใจหรือเครื่องหมายคำถามอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเติมเครื่องหมายจุดเข้าไปอีก

A hyphen (-) is used as a way of joining up two or more words. It binds them together almost as one complete word. There are some rules, when it comes to using hyphens. A spelling hyphen is used to join two or more separate words together. For example,
ยติภังค์ หรือ เครื่องหมายขีดสั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า ไฮเฟน ถูกใช้เพื่อเชื่อมคำสองคำหรือมากกว่าสองคำเข้าด้วยกัน เช่น free-for-all ฟรีสำหรับทุกคน multi-ethic หลายหลายเชื้อชาติ right-handed ถนัดมือขวา dive-bomb ทิ้งระเบิดทางอากาศ punch-drunk มึน มักใช้กับนักมวยเวลาที่โดนต่อยที่บริเวณศรีษะ post-office สำนักงานไปรษณีย์

These days hyphens are used commonly less in compound nouns such as 
เครื่องหมายขีดสั้นได้รับความนิยมน้อยลงในการเชื่อมคำนามในปัจจุบัน เช่น credit card บัตรเครดิต focus group กลุ่มเป้าหมาย garden party ปาร์ตี้ในสวน some have become one complete word such as และคำรวมบางคำก็กลายเป็นคำๆเดียวไปเลย เช่น  databaseฐานข้อมูล earring ต่างหู breaststroke การว่ายน้ำท่าผีเสื้อ backup ผู้สนับสนุน

The hyphen is also used to show a double surname or designation or former position. 
เครื่องหมายขีดสั้นหรือไฮเฟนยังถูกใช้เพื่อคั่นชื่อกลาง อีกด้วย เช่น

Peter Stanley-Jones is an anti-smoker.
ปีเตอร์ สแตนลีย์ โจนส์ ต่อต้านการคนสูบบุหรี่

Sarah Mill-Bond is my ex-wife
ซาร่าห์ มิล บอนด์ คือภรรยาเก่าของฉัน

When a compound verb becomes a noun, we also use the hyphen
เมื่อคำกริยาสองคำกลายเป็นคำนาม เราใช้เครื่องหมายขีดสั้น เช่น hold-up รถติด knock-back อุปสรรค set-up ระบบ fall-back แผนสำรองเมื่อแผนการที่วางไว้ใช้ไม่ได้ผล

It’s also used to show the description of group words such as

นอกจากนั้นแล้ว เรายังใช้เครื่องหมายขีดสั้นกับกลุ่มคำเช่น hard-covered books หนังสือปกหนา French-speaking children เด็กที่พูดภาษาฝรั่งเศส purpose-built offices สำนักงานเอนกประสงค์

Hyphens must be added at the end of adverbs that do not end with ‘ly’ such as

เครื่องหมายขีดขั้นยังถูกใช้กับคำวิเศษณ์ที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย ‘ly’ เช่น a well-known person บุคคลที่มีชื่อเสียง an ill-defined topic หัวข้อที่ไร้สาระ

Common prefixes have hyphen in them, such as

คำนำหน้าคำส่วนใหญ่ก็มักมีเครื่องหมายขีดขั้น เช่น all-inclusive รวมทุกอย่าง self-centered เห็นแก่ตัว คิดถึงแต่ตัวเอง T-shirt เสื้อยืด pre-industrial ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม president-elect การเลือกตั้งประธานาธิบดี mid-1980’s กลางยุค 80 post-modern ร่วมสมัย

The problem with hyphens is that they can be described differently between one dictionary and another. The biggest confusion comes from the use of hyphens in compound words.
อย่างไรก็ตาม คำประสมหรือคำนามสองคำที่ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันมักใช้เครื่องหมายขีดคั่นต่างกันในพจนานุกรมแต่ละเล่ม

A question mark (?) is used to show an interrogative sentence (a sentence where a question is asked and an answer is generally expected).
เครื่องหมายคำถาม ถูกใช้ในประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบ เช่น

Can I see you tomorrow?
ฉันเจอคุณวันพรุ่งนี้ได้มั้ย

Did you bring my book?
เธอเอาหนังสือฉันมารึเปล่า

Where are you going?
เธอจะไปไหนน่ะ         

We also use a question mark in tag questions at the end of a sentence.
เรายังใช้เครื่องหมายคำถามในเควชชั่นแทก หรือ ประโยคบอกเล่าที่จบลงด้วยประโยคคำถามอีกด้วย เช่น

We did well, didn’t we?
เราทำได้ดี ใช่มั้ยล่ะ

They paid you one hundred pounds, for real?
เขาจ่ายเธอตั้งน้อยปอนด์จริงเหรอ

This new hat suits me, yes?
หมวกใบใหม่ใบนี้เหมาะกับฉันใช่มั้ยล่ะ 

Quotation marks (‘’) are used where real speech is being written. If you are writing down the exact words of someone or a sentence that they said, you will need quotation marks. There are two types of quotation mark – single (‘’) and double (“”). The double ones are mainly used in American English, while the single ones are mainly used in British English. A direct speech quote looks like this.
เครื่องหมายอ้างอิง หรือ อัญญประกาศ ถูกใช้เพื่ออ้างอิงถึงคำพูดของผู้อื่น เครื่องหมายอ้างอิงแบบคู่ใช้ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และเครื่องหมายอ้างอิงแบบเดี่ยวใช้ในภาษาอังกฤษแบบบริติช เช่น

Mister Duncan looked across the classroom and said, ‘Good morning everyone.’ The students replied, ‘Good morning sir,’ all at the same time.
มิสเตอร์ดันแคนมองไปรอบๆห้องแล้วกล่าวว่า `สวัสดีตอนเช้าทุกๆคน` นักเรียนตอบกลับ   `สวัสดีตอนเช้าครับ/ค่ะ` พร้อมๆกัน 

You will notice that in the students reply, the comma appears within the quotation mark. This shows that the quote has ended and the describing text has come back in.

คุณคงจะสังเกตุเห็นว่า เวลาที่นักเรียนตอบกลับ เครื่องหมายคอมม่าถูกวางไว้ในเครื่องหมายอ้างอิง นั่นหมายถึง ประโยคอ้างอิงได้จบลงแล้ว และกลับสู่โหมดการเขียนทั่วไป
If you are writing a well-known quote or phrase within a sentence, then you should also use quotation marks

ถ้าคุณเขียนประโยคหรือวลีที่เป็นที่รู้จัก คุณอาจใส่เครื่องหมายอ้างอิงให้วลีนั้นๆเช่น

I should always follow the rule, ‘Once bitten twice shy’, just as my friends have told me
ฉันควรทำตามสิ่งที่เพื่อนๆ บอก เจ็บแล้วจำ 


The semicolon (;) is an often overlooked punctuation mark. It is not as strong as a full stop and not as brief as a comma. The semicolon helps to give a sense of flow between two sentences which relate to each other.
เครื่องหมายเซมิโคลอน หรือ อัฒภาค ถูกใช้เพื่อคั่นประโยคสองประโยคที่เชื่อมโยงกัน เช่น

The walk tired my body; my legs ached all over.
การเดินทำให้ร่างกายฉันเหนื่อยล้า ขาฉันปวดไปหมดเลย

This was all he could say; just two words.
นี่แหละคือทั้งหมดที่เขาพูด แค่คำสองคำ

So I began climbing to the summit; uphill all the way.
ฉันจึงเริ่มต้นปีนขึ้นไป สู่ยอดเขา  

So as you can see the world of punctuation does not have to be so confusing. The rules surrounding it are quite simple, so try to relax when writing and keep a list of all punctuation marks in your textbook, so if you get stuck, you can have a quick look, which will help you to remember the rules and eventually you will not need to keep looking at the list, as it will be all up here, in your head.
คุณคงจะเห็นได้แล้วว่าการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษอันที่จริงแล้วไม่ได้น่าสีบสนอย่างที่คิด กฏในการใช้เครื่องหมายวรรคตอนแต่ละชนิดค่อนข้างที่จะชัดเจน พยายามทำตัวสบายๆเวลาที่คุณเขียนภาษาอังกฤษ คุณอาจจะทำรายการวิธิใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษแล้วเสียบมันเข้าไปในหนังสือเรียนของคุณ แล้วก็เหลือบมองมันทุกครั้งเวลาที่คุณต้องเขียนภาษาอังกฤษ นานๆเข้าคุณจะไม่ต้องการใช้มันอีกต่อไป เพราะกฏต่างๆนั้นจะซึมซับเข้าไปอยู่ในหัวของคุณเองโดยอัตโนมัติ

- See more at: http://www.engtest.net/forum/detail.php?type_id=03-01&&topic_id=3048#sthash.a3WEHyid.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น